สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานในสังกัด

2052
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การสอบนายร้อยตำรวจ หรือสอบเพื่อรับราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากการอ่านหนังสือเพื่อให้มีความรู้ด้านวิชาการในแต่ละสาขาวิชาตามที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัคร ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องการเข้าไปรับราชการถือเป็นความรู้พื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็น เพราะนอกจากเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสอบนายร้อยตำรวจ ความรู้ที่ได้รับยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีขององค์กรนั้น ๆ ในอนาคตอีกด้วย

สถานที่ตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

ข้อมูลการติด ต่อที่อยู่   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 เบอร์โทรติดต่อ   0-2251-5956, 0-2251-0646, 0-2205-2314, 0-2205-2316 โทรสาร   0-2251-5956 อีเมลติดต่อ  [email protected] ลิงค์หน่วยงาน  http://www.royalthaipolice.go.th/

โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการระดับกรมมีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยไม่อยู่ในสังกัดกระทรวงใด ๆ อำนาจหน้าที่ของตำรวจ คือ การบังคับใช้กฎหมายเพื่อความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคน หน่วยงานต้นสังกัด   สำนักนายกรัฐมนตรี พันธกิจ

  1. ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  2. บังคับใช้กฎหมายและอำนวยความยุติธรรมทางอาญา
  3. รักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของราชอาณาจักร

วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรบังคับใช้กฎหมายที่ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ   พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา

หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  1. ส่วนบังคับบัญชา ได้แก่
  • สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (สยศ.ตร.)
  • สำนักงานส่งกำลังบำรุง (สกบ.)
  • สำนักงานกำลังพล (สกพ.)
  • สำนักงานงบประมาณและการเงิน (สงป.)
  • สำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.)
  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (สง.ก.ตร.)
  • สำนักงานจเรตำรวจ (จต.)
  • สำนักงานตรวจสอบภายใน (สตส.)
  • สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ (สลก.ตร.)
  • กองการต่างประเทศ (ตท.)
  • กองสารนิเทศ (สท.)
  • สำนักงานคณะกรรมการนโนบายตำรวจแห่งชาติ (สง.ก.ต.ช.)
  • กองบินตำรวจ (บ.ตร.)
  • กองวินัย (วน.)
  1. ส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ได้แก่
  • กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
  • ตำรวจภูธร ภาค 1 (ภ.1)
  • ตำรวจภูธร ภาค 2 (ภ.2)
  • ตำรวจภูธร ภาค 3 (ภ.3)
  • ตำรวจภูธร ภาค 4 (ภ.4)
  • ตำรวจภูธร ภาค 5 (ภ.5)
  • ตำรวจภูธร ภาค 6 (ภ.6)
  • ตำรวจภูธร ภาค 7 (ภ.7)
  • ตำรวจภูธร ภาค 8 (ภ.8)
  • ตำรวจภูธร ภาค 9 (ภ.9)
  1. ส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
  • กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.)
  • กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (บช.ทท.)
  • กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.)
  • กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.)
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)
  • กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
  • สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.ตร.)
  • สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.
  1. ส่วนการศึกษา
  • กองบัญชาการศึกษา (บช.ศ.)
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.)
  1. ส่วนบริการ
  • โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)
  1. หน่วยงานอื่น ๆ
  • โรงพิมพ์ตํารวจ
  • กองทุนเพื่อการสืบสวนและการสอบสวนคดีอาญา
  • ศูนย์บริการข้อมูลคนหายและศพนิรนาม
  • สายด่วนรถหาย

การจัดส่วนราชการของกรมตำรวจ

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ให้แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารส่วนกลาง ได้แก่

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • สำนักงานจเรตำรวจ
  • กองการเงิน
  • สำนักงานกำลังพล
  • กองการต่างประเทศ
  • กองคดี
  • กองวิชาการ
  • กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
  • กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • กองบัญชาการศึกษา
  • ตำรวจภูธรภาค 1-9
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  • สำนักงานตำรวจสันติบาล
  • สำนักงานแผนงานและงบประมาณ
  • สำนักงานแพทย์ใหญ่
  • สำนักงานวิทยาการตำรวจ
  • สำนักงานส่งกำลังบำรุง

การบริหารส่วนภูมิภาค ได้แก่

  • ตำรวจภูธรจังหวัด
  • ตำรวจภูธรอำเภอ
  • ตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
  • ตำรวจภูธรตำบล

บุคลากรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข้าราชการตำรวจ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน(ป.)  และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (สบ.)มีการกำหนดยศ กำหนดตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

  • ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จะมียศตั้งแต่ พลตำรวจ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) สิบตำรวจตรี สิบตำรวจโท สิบตำรวจเอก จ่าสิบตำรวจ และดาบตำรวจ
  • ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จะมียศตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท ร้อยตำรวจเอก พันตำรวจตรี พันตำรวจโท พันตำรวจเอก พลตำรวจตรี พลตำรวจโท พลตำรวจเอก

สำหรับความั่นคงและความก้าวหน้า ข้าราชการตำรวจคือข้าราชการพลเรือนที่รับราชการอยู่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐก็จะได้รับรับค่าตอบแทนหรือเงินเดือนเป็นการตอบแทนตามค่าของงานในแต่ละตำแหน่ง นอกจากนั้นยังมีสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ และอำนวยความสะดวก เพื่อประโยชน์แก่การดำรงชีพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้าราชการตำรวจจึงนอกจากเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง ยังเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเองรวมไปถึงพ่อแม่ญาติพี่น้องอีกด้วย ทำให้ในแต่ละปีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดสอบนายร้อยตำรวจหรือเปิดรับบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุรับราชการตำรวจ มีผู้สนใจสมัครสอบเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ และบุคคลทั่วไปที่ต้องการสอบเป็นข้าราชการตำรวจ Nine100.com จะนำบทความที่เป็นข้อมูลความรู้ในด้านต่าง ๆ มานำเสนออย่างต่อเนื่อง อย่าลืมติดตามนะครับ